เมนู

ชื่อว่า ภพอันประเสริฐที่สุด. พระอนาคามีในภพทั้ง 3 เหล่านี้ ย่อมไม่ไปสู่ภพ
เบื้องบนและไม่ลงมาสู่ภพเบื้องต่ำ ย่อมปรินิพพานในภพนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้
นี้เป็นปกิณณกะในวาระที่ 6 แล.

อภิญเญยยาทิวาระที่ 7


ในวาระที่ 7

บัณฑิตพึงทราบความเป็นแห่งอภิญเญยยะ (ธรรม
ที่พึงรู้ยิ่ง หรือธรรมที่ควรรู้ยิ่ง) ด้วยสามารถแห่งการรู้ยิ่งซึ่งการกำหนดธรรม
อันเป็นไปกับด้วยลักษณะ. ความเป็นแห่งปริญเญยยะ (แปลว่าธรรมควร
กำหนดรู้) พึงทราบด้วยสามารถแห่งปริญญาทั้งหลาย คือ ญาตปริญญา
ตีรณปริญญา ปหานปริญญา. ก็ในข้อนั้น บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่ง
ญาตปริญญาและตีรณปริญญาเท่านั้น. ในคำว่า รูปขันธ์เป็นอภิญเญยยะ
เป็นปริญเญยยะ ไม่ใช่ปหาตัพพะ
เป็นต้น นั่นแหละ.
สมุทยสัจจะ บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งปหานปริญญา ในคำว่า
สมุทยสัจจะ เป็นอภิญเญยยะ เป็นปริญเญยยะ เป็นปหาตัพพะ
เป็นต้น.

อธิบายสารัมมณานารัมมณาทิวาระที่ 8


ในวาระที่ 8

บัณฑิตพึงทราบ ความไม่มีอารมณ์ (อนารัมมณะ)
และมีอารมณ์ (อารัมมณะ) ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น
และแห่งวิญญาณทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น.

อธิบายทัสสนวาระที่ 9


ในวาระที่ 9

มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

อธิบายทัสสนวาระที่ 10


แม้ในวาระที่ 10 คำใด ที่ข้าพเจ้าพึงกล่าว คำนั้น ทั้งหมด ข้าพเจ้า
กล่าวแล้วในวาระว่าด้วยปัญหาปุจฉกะนั้น ๆ นั่นแล.
วรรณนาธัมมหทยวิภังค์ในสัมโมหวิในทนีอรรถกถาวิภังค์
จบเพียงเท่านี้